เมนู

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพํ (ทั้งหมด) ได้แก่ทั้งสิ้น คือไม่มีเหลือ.
คำว่า รูปํ (รูป) ทรงขยายความถึงสามัญลักษณะอันแสดงถึงความ
ที่รูปต้องแปรผันไปด้วยวิโรธิปัจจัย (ปัจจัยที่เป็นข้าศึกกัน) มีความเย็นเป็นต้น.
คำว่า น เหตุเมว (ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) นี้ ทรงขยายความถึงการ
ปฏิเสธเหตุทั่วไป. ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น

เหตุมี 4 อย่าง

คือ
เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูล
ปัจจยเหตุ คือเหตุที่เป็นปัจจัย
อุตตมเหตุ คือเหตุที่เป็นประธาน
สาธารณเหตุ คือเหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์.
บรรดาเหตุทั้ง 4 เหล่านั้น เหตุนี้คือ กุศลเหตุ 3 (อโลภะ อโทสะ
อโมหะ)
อกุศลเหตุ 3 และอัพยากฤตเหตุ 3 ชื่อว่า เหตุเหตุ. เหตุที่
ตรัสไว้ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป เหล่านี้เป็นเหตุ มหาภูต
รูป เหล่านั้นเป็นปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์นี้ ชื่อว่า ปัจจยเหตุ. เหตุที่
ตรัสไว้ว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมเป็นเหตุสูงสุด ในฐานะแห่งการให้ผล
ของตน อิฏฐารมณ์เป็นเหตุสูงสุดในฐานะแห่งกุศลวิบาก อนิฏฐารมณ์เป็น
เหตุสูงสุดในฐานะแห่งอกุศลวิบาก ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า ตถาคตย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริงซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุ ดังนี้ ชื่อว่า อุตตมเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่อวิชชานี้
เท่านั้นเป็นเหตุ อวิชชานี้เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย อวิชชาเป็นเหตุทั่วไป
แม้แก่สังขารทั้งหลาย ย่อมแผ่ไปสู่ความเป็นปัจจัย ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า
ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง ฉันใด อวิชชาก็
เป็นสาธารณปัจจัยแก่สังขารที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง ฉันนั้น ชื่อว่า
สาธารณเหตุ.

ก็ ในที่นี้ทรงประสงค์เอาเหตุเหตุ (คือเหตุที่เป็นมูล) พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเมื่อทรงกำหนดปฏิเสธถึงความที่รูปเป็นเหตุอันมาแล้วในมาติกาว่า เหตู
ธมฺมา น เหตู ธมฺมา
ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสว่า รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ
ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบการขยายความถึงการปฏิเสธ และการไม่ปฏิเสธในบท
ทั้งหมดโดยนัยนี้ ส่วนวจนัตถะคือคำจำกัดความแห่งบททั้งปวง ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้ในการพรรณนาบทมาติกาแล้วนั่นแหละ.
ก็ในคำว่า สปฺปจฺจยเมว (เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น) นี้ ได้แก่
มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มีกรรมเป็นปัจจัยเหมือนกัน พึงทราบเนื้อความแห่งรูป
นั่นแหละ ด้วยอำนาจปัจจัย 4 ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า รูปที่มีอาหารเป็น
สมุฏฐานเป็นต้น มีอาหารเป็นต้น เป็นปัจจัยทั้งนั้น.
คำว่า รูปเมว (เป็นรูปธรรมทั้งนั้น) ได้แก่ ทรงปฏิเสธรูปธรรม
ว่าเป็นอรูปตามที่ตรัสไว้ในมาติกาว่า รูปิโน ธมฺมา อรูปิโน ธมฺมา (ธรรม
ที่เป็นรูป ธรรมที่ไม่ใช่รูป) ดังนี้.
ในคำว่า อุปฺปนฺนํ ฉหิ วิญฺญาเณหิ (เป็นปัจจุบันธรรมอัน
วิญญาณ 6 พึงรู้) คือ รูปนั้นแหละเกิดขึ้นเฉพาะหน้าอันวิญญาณ 6 มีจักขุวิญ-
ญาณเป็นต้น พึงรู้ได้ แต่การกำหนดท่านสงเคราะห์หมายเอาจักขุวิญญาณเป็นต้น
จริงอยู่ จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้น ย่อมไม่รู้อดีตและอนาคต ส่วนมโนวิญญาณ
ย่อมรู้อดีตบ้าง อนาคตบ้าง. มโนวิญญาณนั้นเป็นไปแล้ว ก็ชื่อว่าตกไปแล้ว
ในกระแสเหมือนกัน เพราะตกไปในกระแสแห่งวิญญาณ 5.
อนึ่ง รูปธรรมทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ไม่เที่ยง ทั้งนั้น ด้วยอรรถว่า
มีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้น เพราะเป็นธรรมอันชรา
พึงครอบงำได้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะชราย่อมปรากฏในรูปกาย ฉะนั้นจึงตรัส
ว่า เป็นธรรมชาติอันชราต้องครอบงำโดยแท้ ดังนี้บ้าง.

ว่าด้วยวิธศัพท์


วิธศัพท์ในพระบาลีว่า เอวํ เอกวิเธน รูปสงฺคโห (สงเคราะห์
รูปเป็นหมวดหนึ่งอย่างนี้) นี้ใช้ในความหมายถึง มานะ สัณฐาน และ
โกฏฐาส.
จริงอยู่ มานะ ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า เสยฺโยหมสฺมีติ
วิธา สทิโสหมสฺมีติ วิธา
มานะว่า เราดีกว่าเขา มานะว่า เราเสมอ
เขา ดังนี้. สัณฐาน ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า กถํ วิธํ สีลวนฺตํ
วทนฺติ กถํ วิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ
(บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนมีสัณฐาน
อย่างไรว่า มีศีล เรียกคนมีสัณฐานอย่างไรว่า มีปัญญา) เพราะบทว่า กถํ
วิธํ
มีเนื้อความเหมือนบทว่า กถํ สณฺฐิตํ. โกฏฐาส ชื่อว่า วิธา ดุจ
ในประโยคมีอาทิว่า เอกวิเธน ญาณวตฺถุ ทุวิเธน ญาณวตฺถุ ญาณวัตถุ
หมวด 1 ญาณวัตถุหมวด 2. แม้ในอธิการนี้ก็ทรงประสงค์เอาโกฏฐาส.

ว่าด้วยสังคหศัพท์


แม้ใน สังคหสงเคราะห์ศัพท์ ก็มี 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่ง ชาติ
สงเคราะห์ สัญชาติสงเคราะห์ กิริยาสงเคราะห์ และคณนสงเคราะห์.

ในสังคหะทั้ง 4 เหล่านั้น สังคหะ คือการสงเคราะห์ นี้ว่า ขอกษัตริย์
ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้งปวงจงมา ขอแพทย์ทั้งปวงจงมา ขอศูทรทั้งปวง
จงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์ลงในศีลขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสงเคราะห์.
สังคหะ คือการสงเคราะห์นี้ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ ทั้งหมด
ถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกัน ดุจในคำที่กล่าวว่า ผู้มีชาติเดียวกันจงมา